post

มาตรฐานระบบการทำงานของการจัดการด้านพลักงาน (ISO 50001)

เชื่อว่าคงได้รู้จักกับมาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) กันไปคร่าวๆ แล้ว แต่ในทางปฏิบัติมันยังมีเรื่องราวอันน่าสนใจเกี่ยวกับระบบมาตรฐานนี้อยู่โดยเฉพาะองค์กรที่กำลังต้องการเรียนรู้อย่างมากว่ามันคืออะไรกันแน่ อีกทั้งหากใครที่ต้องการสร้างสิ่งดีๆ ให้กับโลกใบนี้สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือต้องรู้จักกับมาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) ให้มากขึ้นกว่าเดิม รับรองได้ว่าคุณจะเป็นหนึ่งของคนที่ทำเพื่อโลกนี้ได้อย่างแน่นอน

รายละเอียดของมาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001)

กับการที่องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ISO มีการจัดทำมาตรฐานระบบการจัดการอันเกี่ยวข้องกับพลังงาน หรือ มาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นกรอบสำหรับการบริหารจัดการภายในโรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจด้านการค้า และองค์กรอื่นๆ อีกมาก เป้าหมายสำคัญของเรื่องนี้คือต้องการลดการใช้พลังงานของโลกลงให้ได้เหลือราวๆ 60% เท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ในฐานะของการเป็นหน่วยงานรับรองแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่หลักในเรื่องการสร้างเสริมประสิทธิภาพ สร้างเสริมคุณภาพของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาพร้อมเพิ่มขีดความสามารถด้านการรับรองของประเทศให้มีความทัดเทียมกับบรรดาประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการใช้มาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) ที่ถือเป็นมาตรฐานเรื่องระบบการจัดการฉบับใหม่อันได้รับการพัฒนาขึ้นมา ประเด็นหลักๆ คือช่วยในเรื่องการปรับปรุงเกี่ยวกับประสิทธิภาพ สมรรถนะขององค์กร ปรับปรุงประสิทธิภาพ ช่วยอนุรักษ์เรื่องของพลังงานให้ได้ต่อเนื่อง จุดมุ่งหมายาสำคัญของมาตรฐานระบบการจัดการด้านพลังงาน (ISO 50001) ก็เพื่อต้องการให้องค์กรได้ประโยชน์ต่างๆ ดังนี้

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของการจัดการด้านพลังงานของตัวองค์กรด้วยวิธีบูรณาการเข้ากับระบบการจัดการ ISO 9001, ISO 14001 ซึ่งทุกๆ องค์กรน่าจะทำกันอยู่แล้ว
  • ใช้ให้เป็นเกณฑ์แนวทางการปฏิบัติกับมาตรฐานอื่น การวัด เรื่องการจัดทำระบบเอกสาร การออกผลรายงาน ผลของการปรับปรุงเกี่ยวกับพลังงานกับการจัดการ โครงการที่มีความเกี่ยวข้องพร้อมทั้งเรื่องการลดการปลดปล่อยปริมาณของก๊าซเรือนกระจก
  • เพื่อให้องค์กรควบคุมส่งมอบเกี่ยวข้องเรื่อยไปจนถึงห่วงโซ่ด้านการผลิตเพื่อการสนับสนุนอันก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
  • เพื่อให้องค์กรเกิดการปรับปรุงเรื่องการใช้ทรัพยากรด้านพลังงานให้เกิดความคุ้มค่าต่อเรื่องการลงทุน เป็นการลดค่าใช้จ่ายแต่ช่วยในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต
  • เป็นการสนับสนุนด้านของการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านประสิทธิภาพของพลังงาน

เพื่อต้องการให้องค์กรมีการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องการจัดการพลังงานออกมาเป็นรูปธรรม สามารถนำเอาไปใช้งานได้จริงเพื่อให้เกิดการแก้ไขพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

post

ISO 50001 การพัฒนาจัดการพลังงานที่ดีขึ้นไปอีกขั้น

Energy management

ปัญหาเกี่ยวกับวิกฤตพลังงานเป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วโลกต้องให้ความตระหนักอย่างมากด้วยส่วนหนึ่งคือต้นทุนพลังงานยุคนี้ปรับตัวสูงขึ้นอีกทั้งในอนาคตพลังงานอาจหมดลง การมีระบบการจัดการพลังงานจึงต้องเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นการช่วยเหลือพลังงานในองค์กรอันจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลายปีมานี้องค์กรใหญ่ๆ ค่อนข้างให้ความสำคัญกับต้นทุนแบบอื่นมากกว่า เช่น ยอดขาย, การสั่งซื้อ ทว่าพอราคาพลังงานเริ่มสูงก็ทำให้พวกเขาเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น

องค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม และพลังงานพยายามมองหามาตรการเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงไปของโลกตามมาตรฐาน ISO จึงมีการจัดทำมาตรฐาน ISO 50001 ขึ้นมา อันเป็นระบบของการจัดการพลังงานต่อองค์กรต่างๆ ให้เอาไปใช้ ช่วยควบคุมพร้อมลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รองรับวิกฤตพลังงาน ลดปัญหาอันอาจส่งผลกระทบต่อโลกใบนี้จนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น จริงแล้ว ISO 50001 เริ่มประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2554 ทว่ามาจนถึงวันนี้การได้รับการรับรอง ISO 50001 ยังถือว่าน้อยมากเนื่องจากยังนับเป็นมาตรฐานใหม่อีกทั้งผู้ประกอบการหลายรายยังแค่เริ่มต้นศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรก็ตามได้มีการระบุถึงประโยชน์ของ ISO 50001 เอาไว้อย่างน่าสนใจ

ประโยชน์ต่อองค์กร

  • มีการจัดการพลังงานแบบเป็นระบบ รู้สภาพการใช้พลังงานขององค์กร รู้วิธีจัดการควบคุมว่าตรงไหนใช้มากไปเกินกำหนด เกิดการวางแผนพร้อมปรับปรุงในเรื่องต่างๆ ต่อไป
  • สร้างดัชนีชี้วัดด้านพลังงานขององค์กร และผู้บริหารใช้ติดตามการปฏิบัติของทุกพื้นที่ที่เกิดการใช้พลังงาน เกิดการควบคุมให้ใช้พลังงานตามความเหมาะสม
  • มีการควบคุมปฏิบัติงานของเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ต้องใช้พลังงาน ทำให้คนปฏิบัติงานเองก็รู้เรื่องการควบคุมให้เหมาะสม ติดตาม พร้อมปรับปรุงแก้ไขได้
  • ตรวจวัดการใช้พลังงาน ประสิทธิภาพของบรรดาเครื่องจักรให้เป็นระบบ ควบคุมการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • มีการยอมรับในระดับสากล สร้างภาพลักษณ์ดีๆ ให้กับองค์กรพร้อมทำ CSR ไปในตัว
  • ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานแบบยั่งยืน ช่วยพัฒนาองค์กรให้แข่งขันในตลาดได้อย่างน่าสนใจ
  • เกิดการติดตามกฎหมายด้านพลังงานอย่ามีระบบพร้อมควบคุมการปฏิบัติงานต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • มีความตระหนักพร้อมอยากมีส่วนร่วมอนุรักษ์พลังงานจากพนักงานทุกๆ ระดับ

อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อตัวพนักงาน ประโยชน์ต่อประเทศไทย และประโยชน์ต่อโลกใบนี้ที่เราอาศัยกันอยู่ หากทุกองค์กรเริ่มต้นจากตนเอง ร่วมกันรักษามาตรฐาน ISO 50001 กันจะยิ่งทำให้โลกของเราสดใสมากขึ้นกว่าเดิมและยังช่วยสร้างคุณภาพดีๆ ให้กับองค์กรได้อย่างไม่น่าเชื่อจริงๆ

post

ปตท.สผ. คิดอะไรหลายอย่างเพื่อให้การทบทวนนี้ผ่านได้ดีในประเทศ แคนาดา-โมซัมบิก-ออสเตรเลีย-แอลจีเรีย-พม่า

Somporn criticize mozambi

ในวันที่ 21 พ.ย.2560 นายพงศธร ทวีสิน ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งได้มีการปรับแผงผังโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยในการเข้าบริหารงานใหม่ในครั้งนี้ จะมีการวิเคราะห์การลงทุน 5 โครงการใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่อีกครั้ง ที่อยู่ในต่างประเทศสำคัญๆ ได้แก่

โครงการ Mariana oil sands ประเทศแคนนาดา

โครงการ Mozambique Rovuma Offshore Area 1 ประเทศโมซัมบิก

โครงการ Cash Maple   ประเทศออสเตรเลีย

โครงการ Hassi Bir Rekaiz ประเทศแอลจีเรีย

โครงการ Myanmar M3 ประเทศเมียนมา

เพราะมีหลายปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุม นอกจากนี้ราคาของน้ำมันดิบก็ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้องมองหาความเหมาะสมทางด้านการลงทุนที่ต้องออกมาคุ้มค่าอย่างที่สุด การทบทวนการลงทุนใน 5 โครงการยักษ์ใหญ่ดังกล่าวจะถูกนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาในเดือน ธันวาคม 2560 ซึ่งจะพบข้อสรุปไตรมาสแรกของปี 2561

โดย ปตท.สผ.จะเริ่มมาให้ความสำคัญในเรื่องของการลงทุนภายในประเทศและในโซนอาเซียนเป็นกำลังหลัก ซึ่งในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการประมูลแหล่งปิโตรเลียมซึ่งกำลังจะหมดอายุในทุกแห่ง และได้มีการปรึกษากับพันธมิตรเจ้าเดิมแล้ว ซึ่งพันธมิตรมีความพร้อมในการไปเข้าร่วมประมูล แต่ทั้งนี้ต้องรอให้ทางภาครัฐออกเงื่อนไขในการประมูลให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่ดีของ ปตท.สผ. ที่มีต่อการเข้าแข่งขันประมูลในครั้งนี้

นอกจากนี้ การลงทุนในระดับอาเซียนนั้น ก็กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาในเรื่องของการลงทุน , การสำรวจ , การผลิตปิโตรเลียม เพื่อนำวัตถุดิบเหล่านี้ มาผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในในประเทศมาเลเซีย กับประเทศเมียนมา แต่ ปตท.สผ.จะต้องใช้เวลาถึง 3 ปี คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2562 เพื่อปรับตัวให้พร้อมรับกับ Disruptive Technology บวกกับดูทิศทางของราคาน้ำมันโลก ที่ตอนนี้มันกำลังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ หรือประมาณ 50 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ทั้งนี้ภายในระยะ 3 ปี ทาง ปตท.สผ.ก็จะยังคงใช้นโยบายในการคงเป้าหมายยอดขายของปิโตรเลียมไว้เท่าเดิม คือ 3 แสนบาร์เรล/วัน ในจำนวนเท่านี้ไปก่อน

อย่างไรก็ตาม ทิศทางของพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดที่โลกกำลังให้ความสนใจและความสำคัญ กำลังก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย เช่น ทำให้การใช้พลังงาน Fossil ลดลง นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่เทคโนโลยีใหม่ๆอันไร้ขีดจำกัดก้าวเข้ามามีความสำคัญในการเปลี่ยนทิศทางพลังงานโลก จากข้อมูลเหล่านี้จะเห็นได้ว่า ปตท.สผ.กำลังอยู่ในช่วงหาทางปรับตัว ในอนาคตอันไม่ไกล ปตท.สผ. จะไม่เป็นแค่ผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมแบบ 100% ดั่งเช่นในอดีตเท่านั้น แต่ต้องมองหาธุรกิจทางด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคต แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลใดๆได้

post

สมพร ลุยโมซัมบิกโรวูมา ทุ่มจำนวนเงิน 1.8 พันล้านเหรียญพัฒนาแหล่งก๊าซ

นาย สมพร ว่องวุฒิพรชัย ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล เพื่อกล่าวถึงความก้าวหน้าของการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมสำหรับในต่างประเทศ ในเรื่องของ Mozambique Rovuma Offshore Area 1 จากเดิมที่ได้มีการคาดการณ์กันว่า จะสรุปโครงการ และตัดสินใจขั้นสุดท้ายภายในปี 2560  แต่พอมาดำเนินการจริงๆก็พบว่ามีรายละเอียดหรือขั้นตอนอื่นๆ อีกยิบย่อย จึงจะเลื่อนผลการสรุปและการตัดสินใจไปภายในปี 2562 แทน  เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ถึงค่อยนำรายละเอียดทั้งหมด เพื่อไปปรึกษากับทางสถาบันการเงิน ในการพิจารณาเงินกู้เพื่อนำมาใช้จ่ายด้านการลงทุน พัฒนาแหล่ง Mozambique Rovuma Offshore Area 1 ตามแผนเดิมซึ่งได้กำหนดไว้แล้ว

ทั้งนี้แหล่งปิโตรเลียมที่ ปตท.สผ กำลังให้ความสนใจอยู่นี้มีศักยภาพค่อนข้างสูง จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีปริมาณก๊าซสำรองสูงถึง 70 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต เรียกได้ว่าเป็นแหล่งปิโตเลียมขนาดใหญ่ ซึ่งจากปริมาณของก๊าซดังกล่าว อาจพัฒนาจนสามารถใช้งานได้ถึง 4 เฟส เฟสแรกมีการคำนวณเอาไว้ว่า ใช้เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ ปตท.สผ. ถือหุ้นอยู่ในโครงการนี้ ร้อยละ 8.5 แปลว่าทาง ปตท.สผ. จะใช้เงินลงทุนทั้งหมด 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

เท่ากับว่า ปตท.สผ. ช้าไปจากแผนที่วางไว้ประมาณ 2 ปี แต่ Mozambique Rovuma Offshore Area 1 เป็นโครงการใหญ่ แต่ถ้าลองนำมาเปรียบเทียบกับสัดส่วนการถือหุ้น จะพบว่าโครงการซอติก้า ในประเทศพม่า อีกหนึ่งผลงานของปตท.สผ. ใหญ่กว่า เนื่องจากมีสัดส่วนในการลงทุนมากถึง 80%

ถ้าถามว่าจุดขายของแหล่ง Mozambique Rovuma Offshore Area 1 คืออะไร ถ้าสามารถทำให้เฟสแรกประสบความสำเร็จได้ด้วยดี ข้อดีก็คือโครงการนี้จะเป็น Security of Supply รวมทั้งกลายเป็นแหล่งศึกษาแห่งใหม่ เนื่องจากปัจจุบันนี้ ในหลายประเทศที่นำเข้าพลังงาน พยายามกระจายแหล่งก๊าซให้ได้มากที่สุด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการซื้อก๊าซจากเพียงที่เดียว แปลว่าลูกค้าย่อมให้ความสนใจในแหล่งนี้ด้วย

นอกจากนี้ นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ได้กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องของความคืบหน้าการลงทุน ปิโตเลียมในแหล่งอื่นๆ อีกด้วยอย่าง แหล่ง Cash Maple ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ได้ต้นทุนอันมีความสมเหตุสมผล ยกตัวอย่างเช่น อาจจะพัฒนาเรือผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งได้ศึกษาเอาไว้ก่อนหน้านี้แต่ยังติดในเรื่องของความไม่คุ้มในการลงทุน โดยขณะนี้ทาง ปตท.สผ. ก็กำลังมองหาทิศทางของตลาดในอีกรูปแบบหนึ่ง รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะมาช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้ นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัทที่ต้องการก๊าซ อีกทั้งกำลังเปรียบเทียบราคาของก๊าซจากแหล่งอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งนี้การพิจารณาของ ปตท. จะดูเกณฑ์ราคาที่เหมาะสมและสามารถนำไปแข่งขันในตลาดได้อย่างสูสี

post

เศรษฐกิจหลัก และสินค้าส่งออกของ ประเทศโมซัมบิก

ประเทศโมซัมบิก มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่าสาธารณะรัฐโมซัมบิก มีที่ตั้งอยู่ในทวีปอาฟริกาทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป มีทางออกทะเลทางมหาสมุทรอินเดีย อาณาเขตติดกับประเทศอาฟริกาใต้ สวาซีแลน ซิมบักเว แซมเบียและมาลาวี ผู้คนใช้ภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร มีภาษาโปรตุกีสเป็นภาษาราชการ เมืองหลวงของประเทศชื่อว่า กรุงมาปูโต มีพื้นที่ทั้งหมด 799,380 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และอิสลาม เดิมทีนั้นประเทศโมซัมบิกเคยอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศโปรตุเกสมาเป็นระยะเวลานานได้รับเอกราชจากการต่อต้านโดยใช้ความรุนแรงในปี พ.ศ.2518 คือเมื่อ 42 ปีที่ผ่านมา

เมื่อพูดถึงในด้านเศรษฐกิจการค้าของประเทศโมซัมบิก นับว่าเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมากในด้านการส่งออกนำเข้า เพราะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอยู่มากมาย ผู้คนที่มีศักยภาพเป็นพื้นฐานแรงงานการผลิตสินค้าที่ดี โดยมีผลิตตภัณฑ์มวลรวมประเทศต่อปีอยู่ที่ 16.99 พันล้านดอลล่าสหรัฐ อัตราเงินเฟ้อของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ในช่วงปีที่ผ่านมาประเทศโมซัมบิกมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในอัตราที่ดีน่าพอใจมากคือ ร้อยละ 7 มีสกุลเงินที่ใช้ในประเทศเป็นของตัวเองคือสกุลเงิน โมซัมบิกเมติกัล มีอัตราค่าเงินเทียบกับสกุลเงินบาทไทยอยู่ที่ 1 บาทไทยเท่ากับ 1.96 โมซัมบิกเมติกัล

ด้วยภูมิอากาศของประเทศโมซัมบิกตั้งอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 13-31 องศาเซียลเซียส ทำให้เหมาะอย่างยิ่งที่จะเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ ได้เกือบตลอดทั้งปี จึงมีศักยภาพในการผลิตสินค้าทางการเกษตรส่งออก มีสินค้าเด่นๆ ที่ส่งออกทำรายได้เข้าประเทศมหาศาลคือ มะม่วงหิมะพานต์ ส้มตระกูลต่างๆ น้ำตาล นอกจากนั้นยังส่งออกไม้ซุง และกุ้งด้วย มีการนำเข้าสินค้าหลักคือ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล อาหารชนิดต่างๆ โลหะภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เชื้อเพลิง โดยมีการนำเข้ามาจากอาฟริกาใต้ เนเธอร์แลนด์ จีน อินเดีย

ประเทศโมซัมบิกนั้นเป็นฐานการผลิตสินค้าด้านอุตสาหกรรมได้มีส่งออกสินค้าหลักอยู่หมากมายหลายชนิด ได้แก่ อลูมิเนียม เครื่องดื่ม อาหาร วัสดุทางเคมีภัณฑ์ ประเภทปุ๋ย สีทาบ้าน และสบู่ สิ่งทอ แร่ใยหิน กระจก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม และยาสูบ นอกจากนั้นประเทศโมซัมบิกยังมีการส่งออกเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ด้วย ประเทศโมซัมบิกมีแหล่งคู่ค้าสำคัญที่ส่งออกสินค้าให้เป็นประจำได้แก่ ประเทศอาฟริกาใต้ ซึ่งมีอาณาเขตติดกันทำให้ง่ายต่อการขนส่งนับว่าเป็นข้อได้เปรียบของประเทศโมซัมบิก และส่งออกให้แก่ประเทศเนเธอแลนด์เป็นประจำอีกประเทศหนึ่งด้วย

post

ที่มาเงินทุนที่ช่วยในการสร้าง Clenanstar Mozambique

Clenanstar Mozambique source-money

กองทุนในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอยู่จำนวนหลายล้าน เพื่อเป็นพัฒนาอาหารแล้วการปรุงอาหารที่สะอาดในทวีปแอฟริกา แล้วเงินทุนในครั้งหวังว่า Clenanstar Mozambique จะต้องใช้มันอย่างมีประโยชน์ในจำพวกเกษตรรายย่อยแล้วสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของการลงทุนครั้งนี้จะเป็นการสร้างสิ่งแปลกใหม่เพื่อขยายกิจการแล้วขีดความสามารถในการบรรเทาความยากจนได้ ทางฝั่ง Mr. Stewart Paperin ผู้ให้เงินลงทุนในการสร้างผลงานในเรื่องของอาหาร และความมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในความยั่งยืน แล้วเขาได้บอกเองว่า “เราต้องการเห็นธุรกิจในด้านของอาหารและถ่านทดแทนได้ประสบความสำเร็จภายภาคหน้าให้ได้แล้วต้องไปต่ออีกหลายสิบประเทศทวีป”

แล้วในการลงทุนหนนี้จะเป็นการสร้างจะช่วยให้บริษัท ขยายในเรื่องการจัดจำหน่ายเชื้อเพลิงการปรุงอาหารและโครงสร้างในการค้าปลีกมากกว่า 80,000 ให้ได้ในช่วงก่อนปี 2014 ที่ผ่านมา แถมยังให้การปรุงอาหารจากเตาจะช่วยจะลดเรื่องการปล่อยก๊าซที่เป็นอันตรายได้แบบเห็นได้ดียิ่งขึ้น ต่อไปแล้วนักธุรกิจจากประเทศอื่นๆ ถ้าเห็นผลในเรื่องนี้แล้วจะมีนักลงทุนมากมายอยากจะมาช่วยสนับสนุนเงินทุนที่มากพอ แล้วจะทำให้โครงการในด้านนี้มีด้านที่ดีต่อไปเพื่ออนาคตของ ชาวโมซัมบิก

post

Cleanstar Mozambique ได้ทำการจัดหาเงินลงทุนในการทำคาร์บอน

Cleanstar Mozambique carbon

ในการทำข้อตกลงในรอบนี้ได้มองหาเงินลงทุนที่จะมาช่วยเหลือพี่น้องชาวโมซัมบิก แล้วเพื่อให้เงินมานั้นมาเป็นจำนวนหลักล้านต้องรับรองว่าจะทำการลดในการปล่อยมลพิษให้ถึงมากที่สุดตามที่ธนาคารอเมริกาได้ขอเอาไว้ แล้วในช่วงไม่กี่ปีต่อมานี้ Cleanstar Mozambique ได้ทำการขอร่วมทุนจาก Novozymas แล้วก็ประกาศแก่ชาว เกษตรกร 3000 คน ช่วยกันผลิตภัณฑ์อาหาร แล้วทำความสะอาดเตาเพื่อทำกิจกรรมในการปรุงอาหารเพื่อมองหาเงินทุนหลักที่จะมาช่วยส่งเสริมโครงการในครั้งนี้ให้ได้ดียิ่งขึ้นไปต่อ แล้วในที่สุดก็มีธนาคารจากประเทศอเมริกามาช่วยในการสนับสนุนในครั้งนี้โดยเขาหวังว่าจะให้ประเทศที่นี่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อเป็นการเชื้อเพลิงในราคาที่ถูกแล้วฐานะความเป็นอยู่ของชาวโมซัมบิกได้ดียิ่งขึ้น แล้วเพื่อให้ประเทศมีความน่าอยู่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน

ทางธนาคารได้กล่าวไว้ว่า “เรารู้สึกดีใจที่ได้มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ แล้วได้มาทำงานร่วม โมซัมบิก และ Novozymas ในการมาในครั้งนี้อยากเห็นชาวโมซัมบิกมีสุขภาพที่ดีขึ้นแล้วการปรับปรุงธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองในวันข้างหน้า แล้วทางเราจะส่งพนักงานมาค่อยเป็นกำลังเสริมในการทำคาร์บอนแล้วทำการส่งอุปกรณ์ที่ดีเพื่อทำการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เราเชื่อว่าการมาในครั้งนี้จะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่แล้วมีความก้าวต่อไปในอนาคตแล้วการดำรงชีวิตอยู่ของชาวโมซัมบิกนับล้านจะมีการพัฒนาที่ยิ่งขึ้นไปต่อไป”

post

โรงงานผลิตเชื้อเพลิงไบโอเอทานอล ได้สำเร็จที่จะช่วยในการทำอาหารได้ในราคาถูกในโมซัมบิก

cleanstar Mozambique bio-ethanol

ในตอนนี้ทางโรงงานแถบทวีปแอฟริกาได้ทำการผลิตเชื้อเพลิงไบโอเททานอลได้เพื่อเอาไว้ใช้การปรุงอาหาร ภายในประเทศโมซัมบิก แล้วอาจจะมีการส่งออกภายในอนาคตข้างหน้านี้ แนวคิดของโครงการนี้ได้ความช่วยเหลือจากหลายองค์กร Novazymes และ cleanstar Mozambique จนผลิตมันสำเร็จขึ้นมา แล้วสินค้านี้จะมีราคาที่ถูกมากแถมยังปลอดภัย ไร้สารสิ่งที่มีอันตรายเพื่อที่จะได้นำไปปรุงเป็นอาหารการกินได้เพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องจากชาวโมซัมบิกยังคงใช้ถ่านเชื้อเพลิงแบบพื้นบ้านมาทำการปรุงอาหารใช้ในการกินอยู่ปัจจุบัน เพราะเชื้อเพลิงแบบเก่าจะทำให้สุขภาพที่เสื่อมลงแล้วยังมีสิ่งสกปรกเจือปนอีกด้วยแล้วมีราคาที่แพงมากถึง 3 เท่า ของ เชื้อเพลิงไบโอเอทานอล

แล้วการผลิตในครั้งนี้ต้องได้ “มันสำปะหลัง” มาสกัดเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งภายในประเทศโมซัมบิกมีเกษตรที่ปลูกไร่อยู่จึงทำให้การผลิตตัวเชื้อเพลิง ไบโอเอทานอล ทำได้ในราคาถูก จึงเหมาะสมที่ชาว โมซัมบิก จะได้ลองใช้แล้วมีสุขภาพที่ดีขึ้นในต่อไปในวันข้างหน้านี้

ในกรณีที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นสร้างเพื่อมาแทนที่ถ่านในการทำอาหาร เพื่อลดปัญหาในเนื่องจากการทำลายป่าไม้ในประเทศโมซัมบิก เพื่อไม่ให้มีปัญหาภัยแล้ว

post

เรียนรู้การทำการเกษตรด้วยพลังงานทดแทนไปกับ CleanStar Mozambique

girlmozambiquepae

CleanStar Mozambique เป็นบริษัทดูแลด้านการผลิตพลังงานทดแทนของคนในประเทศ ช่วยดูแลความเป็นอยู่ของการใช้พลังงานต่างๆ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อการใช้พลังงานภายในประเทศอย่างคุ้มค่าและให้ความสำคัญในทุกๆ ทรัพยากรอย่างที่สุด นอกจากนี้พวกเขายังได้ทำการผลิตเตาสำหรับปรุงอาหารที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ CleanStar คาดหวังสร้างประโยชน์แก่ธรรมชาติอย่างที่สุด

โดย CleanStar ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตคนในท้องถิ่นอย่างที่สุด ด้วยการเปลี่ยนการใช้ถ่านมาใช้ก๊าซที่สกัดจากธรรมชาติ เพื่อให้ประชากรในประเทศห่างไกลจากควันถ่าน และลดอันตรายจากการใช้ถ่านโดยสิ้นเชิง เรียกได้ว่าเข้ามาเปลี่ยนแปลงคุณภาพของชีวิตชาวโมซัมบิก ไม่เพียงโมซัมบิกเท่านั้น CleanStar ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกาอีก อย่างที่ทราบกันดีทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่มักเกิดการเผาไหม้ของป่าที่สูง และกลายเป็นก๊าซที่สร้างผลกระทบต่อคนในประเทศและเด็ก เสี่ยงต่อการเป็นโรคปวดบวมหรือมะเร็งปอดตามมา

การมีเชื้อเพลิงทดแทนจาก CleanStar ได้ช่วยไว้อย่างมาก ด้วยการนำมันสำปะหลังผลิตมาเป็นถ่านเพื่อนำมาใช้ใหม่และยังช่วยลดมลพิษได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแค่นั้นเชื้อเพลงธรรมชาติอย่าง “ethanol” หรือ “เอทานอล” ยังช่วยสร้างรายได้ทางเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี ด้วยการนำข้าวโพดมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน ซึ่งสามารถตอบโจทย์ในเวลานี้อย่างมากทีเดียว และคาดการว่าในอนาคตว่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากการผลิตโดยข้าวโพดจะได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เพราะนอกจากจะห่างไกลจากควันถ่านที่เป็นตัวการในการเกิดโรคร้ายแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้แก่คนในท้องที่อย่างสูงถึง 400% ต่อปี ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยมากมายมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

แม้เวลานี้ประเทศไทยยังไม่มีแผนการเหมือนกับ CleanStar ที่ใช้งานพลังงานเชื้อเพลิงทดแทนจากข้าวโพดหรือถ่านจากธรรมชาติอย่างมันสำปะหลัง แต่เชื่อว่าเวลาอันใกล้การจะต้องมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้งานและให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของชีวิตให้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

post

CleanStar Mozambique ช่วยลดก๊าซคาร์บอนบนอากาศ

mapmozambiquenicegood

ก๊าซคาร์บอน หรือเป็นที่รู้จักกัน CO2  เป็นหนึ่งในก๊าซที่ไม่เป็นมิตรต่อโลกและชั้นบรรยากาศ ที่ถูกผลิตออกมาจากการเผาไหม้โดยเฉพาะจาก โรงงาน รถยนต์ เป็นต้น ซึ่งสร้างผลกระทบต่อโลกโดยตรง เรียกได้ว่าเป็นมลพิษที่มนุษย์มีส่วนสร้างขึ้นมาทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดบริษัท CleanStar เข้าไปมีส่วนช่วยดูแลการใช้พลังงานภายในประเทศโมซัมบิก หรือ CleanStar Mozambique ได้คิดค้นการใช้พลังงานทดแทนอย่างจริงจัง เพื่อควบคุมการสร้างก๊าซคาร์บอน CO2 และยังได้วางแผนการอนาคตในระยะโดยไปยังประเทศอื่นๆ อีกต่อไป

CleanStar คิดค้นการใช้เชื่อเพลิงจากการแปรรูปข้าวโพดให้กลายมาเป็นเชื้อเพลิงคุณภาพ สามารถใช้งานทดแทนน้ำมันทั่วไปได้โดยสิ้นเชิง รวมถึงการสร้างถ่านสำหรับการเผาไหม้ที่เป็นการนำมันสำปะหลังที่ไม่สามารถส่งขายได้ นำกลับมาใช้ทดแทนเพื่อป้องกันการสูดควันจากถ่านที่มีสารให้ก่อโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ตามมา ยังไม่หมดแค่นั้นเพราะนอกจากจะช่วยลดปริมาณของก๊าซคาร์บอนบนอากาศแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ด้านเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกรรายย่อยให้มีรายได้ที่สูงขึ้นและมีทางเลือกที่มากขึ้น

ต้องยอมรับว่าการเข้ามาของ CleanStar ในประเทศโมซัมบิกช่วยยกระดับของเกษตรกรในประเทศได้อย่างดี นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับการพัฒนาด้านการควบคุมปริมาณคาร์บอนบนชั้นบรรยากาศ นอกจากด้านเกษตรกรรมแล้ว CleanStar ยังคงมีส่วนกับการเป็นอยู่ของการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ด้วยการสร้างเตาทำอาหารที่ช่วยลดมลพิษด้วยการใช้เชื้อเพลิงทดแทนนั่นเอง ปัจจุบัน บริษัท CleanStar ได้ทำการผลิตเตาผลิตพลังงานให้ตอบโจทย์แก่โลกปัจจุบันเพื่อคาดหวังช่วยลดปริมาณคาร์บอนได้มากที่สุด ที่สำคัญพวกเขาหวังจะสร้างรายได้ที่ยั่งยืนในอนาคตอันใกล้ ซึ่งก็นับว่าเป็นการช่วยเหลือกันและกันของทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งสุขภาพและรายได้ของเกษตรกรที่ดีขึ้น ส่วนทางบริษัทก็ได้รับรายได้จากการขายเตาผลิตพลังงาน